ป้ายร้านขายยา

รับทำป้ายร้านขายยา ตัวอย่างแบบสวยๆ สีเขียวมาตรฐาน ยาแผนปัจจุบัน แผนโบราณ สั่งผลิตได้ทันที ราคาถูก จัดส่งเร็วมาก แอดไลน์คุยงานได้เลย

ป้ายร้านขายยา

เปิดร้านยาต้องทำป้ายร้านขายยาชนิดไหนบ้าง?

ร้านยาหรือสถานที่จำหน่ายยานั้น อย่างที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นร้านที่ขายสินค้าเฉพาะอย่างที่มีความสำคัญมากก็คือ ยา และอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับยาและสุขภาพ การจะเปิดร้านขายยาจึงมีความแตกต่าง มีรายละเอียดและข้อกำหนดมากกว่าร้านขายของหรือกิจการอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ที่คนคิดจะเปิดร้านขายยาต้องรู้ก็คือ

ป้ายร้านขายยา1

ต้องมีเภสัชกรปฏิบัติการณ์อยู่ประจำร้านยา

ร้านยาจะต้องมีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยา เพราะคนทั่วไป พนักงานขายในร้านจะขายยาได้ก็เฉพาะยาบางประเภทเท่านั้น เช่น ยาทาแก้ปวดเมื่อย ยาพาราเซทตามอลแก้ปวด ยาดม ยาอม ผ้าพันแผล สมุนไพรบางชนิด อุปกรณ์ผู้ป่วย อย่างไม้เท้า รถเข็น แต่ถ้าเป็นยานอกเหนือจากนี้ส่วนใหญ่ คนทั่วไป พนักงานร้านก็จะไม่สามารถขายให้ได้ จะต้องเป็นเภสัชกรเท่านั้น

ป้ายร้านขายยา2

ต้องมีป้ายติดตามกำหนดบังคับของราชการ

โดยที่ทางร้านขายยาทุกร้านในประเทศไทยจะต้องติดป้ายต่างๆ ดังนี้ก็คือ

ป้ายร้านขายยาที่แสดงให้รู้ชัดเจนว่าที่ร้านเป็นสถานที่ขายยา

ขนาดของป้ายที่ติดข้อความบ่งบอกว่าเป็นสถานที่ขายยาก็มีขนาดของป้ายและสีป้ายกำหนดไว้อย่างชัดเจนคือ ป้ายสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน ต้องเป็นป้ายสีน้ำเงิน ทำจากวัสดุใดก็ได้ แต่ต้องสามารถติดไว้ถาวรไม่ชำรุดเสียหาย ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร คูณ 70 เซนติเมตร  ตัวอักษณที่เป็นข้อความต้องเขียนด้วยภาษาไทยชัดเจน มีขนาดฟ้อนท์ไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร เป็นอักษรสีขาว โดยข้อความต้องเขียนว่า “สถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน”

ป้ายร้านขายยา3

นอกจากป้ายดังกล่าวยังต้องมีป้ายข้อความต่อไปนี้ ( ในกรณีที่ขายยาตามประเภทที่ระบุในป้าย ) คือ

ป้ายระบุข้อความว่า “ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จทีมิใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ”

ป้าย “สถานที่ขายยาแผนโบราณ มีป้ายทำด้วยวัตถุถาวร”

สำหรับร้านที่ขายยาสำหรับสัตว์ก็เช่นกัน ต้องมีป้ายที่ระบุว่า  “สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์” ในขนาดป้ายและขนาดตัวอักษรและสีป้าย สีตัวอักษรเท่ากันกับป้ายชนิดแรก

ป้ายร้านขายยา4

ป้ายรายละเอียดเกี่ยวกับ เภสัชกร หรือ ผู้ปฏิบัติการณ์

กำหนดให้ใช้ป้ายสีน้ำเงิน หรือสีแดง หรือสีเขียว ซึ่งจะใช้สีใดต้องดูที่ประเภทของสถานที่ขายยาจะใช้สีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย รายละเอียดข้อความในป้ายต้องระบุ ชื่อ และ นามสกุล ต่อด้วยวิทยฐานะ และ ช่วงเวลาที่เข้าปฏิบัติงานในร้าน

สำหรับป้ายชนิดนี้ ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่าเป็นป้ายร้านขายยาที่ใช้ติดบอกเกี่ยวกับเภสัชกร ได้มีการรณรงค์ในแคมเปญ “เภสัชกรไม่แขวนป้าย” รายละเอียดการรณรงค์ก็คือ ให้เภสัชกรแขวนป้ายเฉพาะในเวลาปฏิบัติงานอยู่ที่ร้านเท่านั้น ส่วนช่วงเวลาที่เภสัชกรไม่ได้อยู่ทำการในร้านก็ให้นำป้ายที่แขวนไว้ลง ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว การที่มีป้ายเภสัชการแขวนตลอดเวลาทั้งๆ ที่ตัวเภสัชกรไม่ได้ทำการอยู่ในเวลานั้น ทางกฎหมายแล้วก็มีโทษความผิดอยู่ด้วยคือ เภสัชกรต้องประจำอยู่ที่ร้านตลอดช่วงเวลาที่ร้ายขายยานั้นเปิดทำการ จะเปิดร้านในขณะไม่มีเภสัชกรนั้นตามกฎหมายแล้วทำไม่ได้ ป้ายร้านขายยาที่ติดป้ายเภสัชกรตลาดเวลา ถ้าถูกทางการมาตรวจแล้วพบว่าไม่มีเภสัชกรอยู่ในเวลานั้นจริง จะมีความผิดในมาตร 39 ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ด้วย มีโทษ ปรับ 1,000 บาท ถึง 5,000 บาท และถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลาถึง 1 ปีด้วย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับป้ายร้านขายยานอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีป้ายที่ห้ามแขวนด้วย คือ

ป้ายประเภทที่โฆษณาในทำนองที่ว่า นาทีทอง ยาขายถูก หรือข้อความที่มีคำว่าฟรีในป้ายนั้น เช่น ตรวจวัดความดันฟรี เนต้น ข้อความเหล่านี้ถ้าสั่งทำป้ายร้านขายาแขวนไว้ ทางการมาพบก็จะมีโทษด้วย เพราะถือว่าไม่ควรมีการโฆษณาทำนองนี้นั่นเอง

หากร้านขายยาร้านใดที่ต้องการจัดทำป้ายร้านขายยา วัสดุที่นำนำสำหรับสั่งทำป้ายก็คือ ป้ายทำจากอะคริลิค เพราะมีสีสันตามข้อกำหนดให้เลือก เป็นป้ายที่สวยงาม มีน้ำหนักเบา นำมาแขวนติดได้ง่าย เมื่อใส่ตัวหนังสือลงไปก็จะเกิดมิติของป้าย ทำให้มองได้ชัดเจนและสวยงาม ทำความสะอาดได้ อายุการใช้งานทนนาน ในส่วนของฟ้อนท์ตัวหนังสือ เมื่อสั่งทำกับร้านรับทำป้ายที่มีประสบการณ์ จะได้รับคำแนะนำในการทำป้ายที่ถูกตามข้อกำหนด และฟ้อนท์ตัวหนังสือที่สวยงามถูกต้องด้วย